วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 1

เฉลยแบบฝึกหัดท้าย หน่วยการเรียนที่ 1

ตอนที่ 1 เฉลย
1ค
2ง
3ง
4ก
5ข
6ก
7ข
8ข
9ข
10ง

ตอนที่ 2 การตอบข้อมูลเน้นการบูรณาการเนื้อหาการเรียน โดยคำตอบเน้นความเข้าใจในการเรียน

1. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของอินเทอร์เน็ต
ตอบ
เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดสามารถที่ทำการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกันจนได้ชื่อว่า อินเทอร์เน็ต ซึ่งในการเชื่อมต่อเข้ากันภายใต้ มาตรฐานการสื่อสารของ (Protocol) เดียวกัน ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก เช่น ข้อความ รูปแบบภาพ รูปแบบเสียง ส่งทั้งภาพและเสียง ฯลฯ ทั้งนี้ยังสามารถค้นหาข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย อินเทอรเน็ตได้ด้วยความรวดเร็ว เพียงไม่ กี่นาทีก็สามารถทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้

2. ให้นักศึกษาบอกถึงประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ตในรูปแบบต่าง
ตอบ
1.ประโยชน์ด้านการอ่าน
2.ประโยชน์ด้านการค้นคว้าข้อมูล
3.ประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์
4.ประโยชน์ด้านการส่งคำอวยพร ในเทศการต่าง ๆ
5.ประโยชน์ด้านข้อมูลข่าวสาร
6.ประโยชน์ด้านการค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด
7.ประโยชน์ด้านการซื้อสินค้า
8.ประโยชน์ด้านการความบันเทิง
9.ประโยชน์ด้านการการสนทนา
10.ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน
11.ประโยชน์ด้านค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์

3 .ให้นักศึกษาอธิบายถึงการให้บริการต่าง ๆ ที่มีในอินเทอร์เน็ต
ตอบ
1.การให้บริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.การให้บริการทางด้านการค้นหาข้อมูล
3.การให้บริการด้านการประชาสัมพันธ์หน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน
4.การให้บริการทางด้านการศึกษา
5.การให้บริการด้านการสื่อสาร
6.การให้บริการทางด้านความบันเทิง
7.การให้บริการส่งข้อมูลทางไกล ( TelNet )
8.การให้บริการส่งข้อมูลทางด้านธุรกิจ
9.การให้บริการขายสินค้าในระบบ E-Commerce

4. ให้นักศึกษาบอกถึงความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ตอบ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้รู้จักกับอินเทอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสถาบันการศึกษากับสถาบันการศึกษาทั่วโลกที่ทำการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบัน เอไอที (AIT) ได้เป็นหน่วยงานที่บุกเบิกในด้านการติดต่ออินเทอร์เน็ต สถาบันทั้งสองนี้ได้เริ่มใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิคส์โดยได้รับความร่วมมือกับประเทศออสเตรเลียตามโครงการ IDP ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่นั้น ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยโดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตคือ sritrang.psu.th ซึ่งนับว่าเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัด ได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในกิจการของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (domain) ซึ่งเป็นส่วนแสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยคำว่า “th” เป็นรหัสที่ย่อมาจากคำว่า Thailand
ปี พ.ศ. 2535 นับว่าเป็นปีที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัว โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายและได้เช่าสาย “ลีสไลน์” (leased line) ซึ่งเป็นสายความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย “ยูยูเน็ต” (UUNET) ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด (UUNET Technologies Co.,Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่ที่มลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกา การเชื่อมต่อในระยะเริ่มแรกโดยลีสไลน์ความเร็ว 9600 bps (bps : bit per second) ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขยายเครือข่ายโดยตั้งชื่อว่า “จุฬาเน็ต” (ChulaNet) และได้ปรับปรุงความเร็วของลีสไลน์จาก 9600 bps ไปเป็นความเร็ว 64 kbpsและ 128 kbps ตามลำดับ ในปีเดียวกันได้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้ขอเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาเหล่านี้คือ สถาบันเอไอที (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) และ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (AU) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ในปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษาเพียง 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค(NECTEC)หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังนั้น เครือข่ายไทยเน็ตจึงมีขนาดเล็ก จึงนับว่าเครือข่ายไทยเน็ตเป็นเครือข่ายที่มี “เกตเวย์” (gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2535 เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาและ วิจัย โดยมีชื่อว่า “เอ็นดับเบิลยูจี” (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยหน่วยงานของรัฐที่มีชื่อว่า“ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ”หรือ “เนคเทค” (NECTEC : National Electronic and Computer Technology Centre) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยนั้น กลุ่มเอ็นดับเบิลยูจี ได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า “ไทยสาร” (ThaiSarn : Thai Social / scientific and Research Network)
สำหรับเครือข่ายไทยสารได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยเกี่ยวกับระบบเครือข่ายจากเนคเทคโดยมีจุดประสงค์ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรสำคัญ ๆ ในประเทศไทยเข้าด้วยกัน โดยจะมีเนคเทคเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างกันเช่นนี้เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเนคเทคได้สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่ม NEWgroup (NECTEC E-mail Working Group) ในปี พ.ศ. 2534 โดยมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยวิธี “จดหมายอิเล็กทรอนิกส์” (Electronic mail หรือ E-mail) ในตอนแรกกลุ่ม NEWgroup ประกอบด้วยสมาชิกจากสถาบันการศึกษา จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU) สถาบันเอไอที (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เป็นต้น ซึ่งต่อมากลุ่ม NEWgroup ได้เปลี่ยนชื่อย่อเป็น "เอ็นดับเบิลยูจี” ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในตอนเริ่มแรกของการพัฒนาระบบเครือข่ายของไทยสารเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยอุปกรณ์เชื่อมต่อชนิดที่เรียกว่า “โมเด็ม” (modem) โดยเชื่อมต่อด้วยระบบ “ยูยูซีพี” (UUCP : Unix to Unix Copy) ซึ่งต่อมาได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านเกตเวย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2536 และในปัจจุบันเครือข่ายไทยสารได้เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยเชื่อมโยงกับเครือข่าย “ยูยูเน็ต” ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่มลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเช่าลีสไลน์ขนาดความเร็ว 64 kbps จึงนับว่าเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งที่สองของประเทศไทย ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่าง ๆ มากกว่า 30 แห่ง โดยมีสถาบันการศึกษาและองค์กรของรัฐเป็นสมาชิกเครือข่ายจำนวนมากสถาบันเอไอที เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเกตเวย์ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและที่เนคเทค ดังนั้นนับว่าสถาบันเอไอทีเป็นเครือข่ายเชื่อมระหว่างเครือข่ายไทยเน็ตกับ ไทยสาร ซึ่งเป็นผลดีต่อการสื่อสารระหว่างสมาชิกในเครือข่ายไทยเน็ตและเครือข่ายไทยสารโดยมีผลทำให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ไม่เช่นนั้นแล้ว การสื่อสารระหว่างเครือข่ายทั้งสอง ต้องผ่านอินเทอร์เน็ตไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ววกกลับมาประเทศไทย ซึ่งเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ

5.ให้นักศึกษายกตัวอย่างการให้บริการ บนอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ จำนวน 1 ตัวอย่าง
ตอบ
การให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับการค้นคว้าข้อมูลสามารถที่จะนำมาประกอบเป็นธุรกิจสำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ กลุ่มลูกค้า จะเป็นกลุ่มที่มีความต้องการข้อมูลที่เร่งด่วนและเป็นปัจจุบัน การทำธุรกิจนี้สามารถควบคู่ไปกับการเปิดร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น